เป็นการใช้บ่อวงเป็นบ่อเติมน้ำใต้ดิน โดยรวบรวมน้ำจากน้ำฝนที่ไหลบ่าบริเวณผิวดิน ให้ไหลเข้าสู่บ่อวง แล้วเติมลงสู่ชั้นน้ำใต้ดินต่อไป องค์ประกอบต่าง ๆ ของการเติมน้ำผ่านบ่อวงจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับบ่อเติมน้ำผ่านหลังคา แตกต่างกันเพียงน้ำที่จะใช้เติมลงสู่ชั้นน้ำใต้ดินนั้นจะรับน้ำจากผิวดินที่ได้ทำการปรับพื้นดินให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าสู่ระบบเติมน้ำที่เหมาะสม แล้วไหลเข้าสู่ระบบบำบัดคุณภาพน้ำที่ถูกสร้างไว้รอบ ๆ บ่อวง โดยทำการขุดรอบ ๆ บ่อวงให้มีขนาดความกว้าง 1.6 เมตร ยาว 1.6 เมตร และลึก 1.5 เมตร (อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่ก่อสร้าง) พร้อมติดตั้งท่อกรุ PVC นำน้ำที่บำบัดแล้วเข้าสู่บ่อเติมน้ำ
1. สำรวจพื้นที่ที่เหมาะสมในการก่อสร้างระบบเติมน้ำใต้ดินแบบบ่อวงตื้น
2. ขุดหลุมกว้าง 1.6 x 1.6 x 1.5 เมตร (กว้างxยาวxลึก) ต่อระบบเติมน้ำใต้ดินแบบบ่อวงตื้น 1 ระบบ ในรูปเป็นระบบเติมน้ำฯ วางต่อเนื่องกัน 3 ระบบ จึงทำให้ต้องขุดหลุมยาวต่อเนื่องกัน 4.8 เมตร (1.6 x 3 เมตร)
3. วางบ่อวงคอนกรีตขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.8 เมตร สูง 0.5 เมตร จำนวน 3 ท่อน โดยก้นบ่อจะเปิดไว้ สำหรับเป็นพื้นที่ให้น้ำซึมผ่านและเติมลงสู่ใต้ดิน จากนั้นนำกรวดถมบริเวณโดยรอบบ่อวงคอนกรีต
4. วางท่อ PVC เซาะรอง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 0.35 เมตร เจาะทะลุบ่อเติมน้ำให้ตั้งฉากกัน 4 ทิศทางเพื่อรวบรวมน้ำเข้าสู่บ่อเติมน้ำ
5. เติมกรวดคละขนาดให้เต็ม และดูแลความสะอาดโดยรอบ โดยไม่ให้กีดขวางทางน้ำ
ควรก่อสร้าง 7 ถึง 16 จุด ต่อพื้นที่รับน้ำ 1 ไร่
5,000 บาท ต่อ 1 จุด
คำนวณปริมาณการเติมน้ำเป็นวิธีที่ประยุกต์มาจากวิธีการเติมน้ำผ่านสระน้ำที่ต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ ทำให้สูญเสียพื้นที่ในการใช้ประโยชน์ ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาระบบเติมน้ำผ่านสระน้ำแบบที่ใช้พื้นที่น้อย ง่าย ประหยัด แต่มีประสิทธิภาพสูง อีกทั้งยังสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้น้ำในพื้นที่ เป็นวิธีที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งออกแบบให้เป็นสระน้ำขนาดเล็กรูปทรงจัตุรัส กว้างและยาว 12 ถึง 50 เมตร (อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่ก่อสร้าง) ความลึก 5-10 เมตร ตามความลึกของชั้นดินเหนียวที่ปิดทับผิวดินบริเวณนั้น ๆ น้ำจะไหลเข้าสู่ระบบเติมน้ำด้านบน และจะเติมลงสู่ชั้นน้ำใต้ดินต่อไป บริเวณโดยรอบสระจะปรับคันดินให้สามารถเพาะปลูกไม้ผลได้ตามความต้องการของเจ้าของพื้นที่
1. ดำเนินการสำรวจพื้นที่และรังวัด สำหรับก่อสร้างระบบเติมน้ำใต้ดินแบบสระเติมน้ำ
2. ขุดสระเติมน้ำให้มีความกว้าง ความยาว และความลึกตามที่กำหนดไว้ในแบบ ความลาดเอียงขึ้นอยู่กับชนิดดิน หากเป็นดินเหนียวให้ใช้ความลาดเอียงเป็น 1:1 ดินร่วน 1:1.5 และดินทราย 1:2
3. ดำเนินการขุดร่องหรือวางท่อน้ำเข้า โดยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่รับน้ำและปริมาตรของสระ
สระเติมน้ำที่มีปริมาตรน้อยกว่าหรือเท่ากับ 912 ลบ.ม. (ขนาดสระ 20×16×6 เมตร ความชัน 1:1) ต้องมีพื้นที่รับน้ำอย่างน้อย 10 - 19 ไร่
ราคาต้นทุนในการขุด 35-45 บาท/ลบ.ม. (ราคานี้ไม่รวมค่าก่อสร้างทางเข้าน้ำ)
คำนวณปริมาณการเติมน้ำเป็นวิธีการรวบรวมน้ำฝนจากหลังคา อาคารหรือบ้านเรือน แล้วส่งต่อลงบ่อน้ำตื้นหรือหลุมที่มีทรายหรือกรวดบรรจุอยู่ วิธีการนี้เปรียบเสมือนการนำน้ำฝนที่เหลือใช้ไปเก็บไว้ใต้ดิน เพื่อนำน้ำขึ้นมาใช้ในช่วงที่ขาดแคลน การเติมน้ำโดยวิธีนี้สามารถทำได้ในพื้นที่ชุมชนที่มีหลังคาหรือส่วนที่รองรับน้ำฝน เป็นอีกวิธีการเติมน้ำที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหลายๆ ประเทศ เนื่องจากน้ำดิบที่ใช้เติมเป็นน้ำสะอาดหรือมีการปนเปื้อนน้อย ทำให้มีระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำไม่ยุ่งยาก ทุกครัวเรือนสามารถดำเนินการได้เอง ในขณะที่ประสิทธิภาพการเติมน้ำสูง เนื่องจากคุณภาพน้ำดิบเป็นน้ำที่มีความขุ่นน้อย ทำให้ไม่มีผลต่อการอุดตันของระบบในอนาคต โดยได้พัฒนาจากรูปแบบของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลที่มีการทดลองใช้อยู่ในปัจจุบัน และจากรูปแบบที่ใช้ในประเทศอื่นๆ เช่น ออสเตรเลีย อินเดีย อเมริกา เยอรมนี เป็นต้น
1. ขุดหลุมเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 0.8 เมตร ความลึกประมาณ 6 เมตร หรือเหนือระดับน้ำใต้ดิน 1 – 2 เมตร เพื่อให้เกิดการซึมผ่าน ซึ่งจะสังเกตได้จากดินที่ขุดขึ้นมามีความชื้น
2. ลงบ่อวงคอนกรีตขนาด 0.8 เมตร ทีละวงจนถึงความลึกที่กำหนด โดยวงคอนกรีตนี้จะทำหน้าที่เป็นผนังกั้นไม่ให้ดินถล่มลงมา
3. บริเวณช่องว่างรอบ ๆ บ่อวง ใช้กรวดเทปิดให้เต็ม
4. วางตะแกรงเหล็กไว้สำหรับกันคนตกลงไปในบ่อ จากนั้นนำบ่อวงคอนกรีตมาวางไว้ด้านบนตะแกรงเหล็กอีกทีให้สูงเหนือระดับพื้นดินขึ้นมาประมาณ 0.5 เมตร จากนั้นฉาบด้วยปูนให้แน่นและไม่ให้เกิดรูรั่ว
5. ติดตั้งรางน้ำฝน เพื่อรวบรวมน้ำฝนจากหลังคาบ้านเรือน หากมีรางน้ำฝนเดิมอยู่แล้ว ให้ตรวจสอบและแก้ไขให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
6. จากนั้นก่อสร้างระบบท่อเชื่อมต่อจากหลังคาสู่บ่อเติมน้ำ
ต้องมีพื้นที่หลังคาอย่างน้อย 50 ตารางเมตร
50,000 ถึง 60,000 บาท ต่อ 1 จุด (หากมีระบบรางน้ำเดิมอยู่แล้ว ต้นทุนก็จะต่ำกว่านี้)
คำนวณปริมาณการเติมน้ำเป็นวิธีการรวบรวมน้ำฝนและน้ำผิวดินที่ไหลหลากเข้าสู่ระบบเติมน้ำ ป้องกันการชะล้างหน้าดินรวมไปถึงการป้องกันไม่ให้หน้าดินถูกน้ำพัดพาไป ควรก่อสร้างให้กระจายทั่วพื้นที่ไม่ควรก่อสร้างกระจุกไว้ใกล้กัน เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในดิน โดยแต่ละคลองหรือร่องจะมีขนาดความยาว 3 - 10 เมตร กว้าง 1 เมตร และลึก 0.5 - 1 เมตร (อาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับชนิดของดิน และความเหมาะสมของพื้นที่ก่อสร้าง)
1. สำรวจจุดก่อสร้างและพื้นที่รับน้ำ
2. ขุดหลุมกว้าง 1 เมตร ยาว 10 เมตร และลึก 1 เมตร ณ จุดที่น้ำไหลมารวมกัน
3. ทำความสะอาดบริเวณโดยรอบระบบเติมน้ำใต้ดิน เพื่อไม่ให้กีดขวางทางน้ำและสามารถรองรับน้ำได้เต็มที่
พื้นที่รับน้ำ 1 ไร่ ควรก่อสร้าง 1 - 3 ร่อง
ราคาต้นทุน 60 บาท/ร่อง
คำนวณปริมาณการเติมน้ำม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ปริมาณฝน (มม.) | 0.00 | 0.97 | 11.54 | 54.87 | 93.06 | 144.54 | 183.41 | 208.03 | 228.86 | 199.40 | 6.40 | 0.00 |
การระเหย (mm/day) | 4.24 | 4.75 | 5.19 | 5.22 | 4.71 | 3.89 | 3.67 | 3.83 | 3.67 | 3.62 | 4.11 | 4.20 |
ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าระบบเติมน้ำ (ลบ.ม.) | ||||||||||||
ความสามารถในการซึม (ลบ.ม.) | ||||||||||||
ปริมาณการเติมน้ำใต้ดิน (ลบ.ม.) |